การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตามกฎกระทรวงการสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา
พ.ศ. ๒๕๕๙ (หมวด ๖)
วิสุงคามสีมา คือที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง เป็นเขตพื้นที่ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน แก่สงฆ์เพื่อกระทำสังฆกรรมได้ตามพระธรรมวินัย ซึ่งภายในวิสุงคามสีมานิยมสร้างอุโบสถไว้สำหรับการทำสังฆกรรม ของสงฆ์ดังกล่าว วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจึงเป็นวัดที่สมบูรณ์ในพระพุทธศาสนา
แนวทางในการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
๑. เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
๒. มีชื่อ ที่อยู่ และปีที่ตั้งวัดถูกต้อง ปรากฏอยู่ในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๓. มีอาคารเสนาสนะเป็นหลักฐานถาวร และมีพระภิกษุอยู่พำนักอยู่ประจำไม่น้อยกว่า ๕ รูป ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี แต่ระยะเวลา ๕ ปี มิให้ใช้บังคับแก่วัดที่สร้าง อุโบสถเรียบร้อยแล้ว
๔. ที่ดินที่ตั้งวัดเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด โดยมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินเป็นชื่อวัต อย่างถูกต้อง กรณีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นที่ดินของทางราชการ ต้องมีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อสร้างวัด ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลรักษาที่ดินนั้นเป็นผู้ออกให้
๕. ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ นายอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด ผู้ว่าราชการ จังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่
ขั้นตอนการดำเนินการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา
๑. เจ้าอาวาสเสนอรายงานขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามแบบ (ศถ. ๗) ไปยังผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
๒. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอความเห็นจากเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอนายอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดที่เกี่ยวข้อง
๓. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเสนอรายงานพร้อมความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
๔. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรายงานพร้อมความเห็นไปยังเจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่ และ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๕. เมื่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับเรื่องแล้วจะดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของ แต่ละวัดให้ถูกต้องครบถ้วน จากนั้นรวมรวมและจัดทำบัญชีรายชื่อวัดเสนอขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประจำงวด (งวดการเสนอแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการรับพระราชทานวิสุงคามสีมาในแต่ละงวด) พร้อมทั้ง ข้อมูลวัดประกอบเสนอประจำงวด
๖. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนอรายงานกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงอนุมัติ
๗. สมเด็จพระสังฆราช ทรงพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำ เรียน นายกรัฐมนตรี ลงนามหนังสือเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูล พระกรุณาโปรด เกล้าฯ ขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
๘. เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดต่าง ๆ แล้ว สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดทำสำเนาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมาตามรายชื่อที่ได้รับพระราชทาน
๙. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรายงานให้มหาเถรสมาคมทราบ
๑๐. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าคณะภาค และ จําคณะใหญ่ทราบ
๑๑. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งการประกาศการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้ผู้ขอรับพระราชทาน สงคามสีมา และเจ้าคณะจังหวัดทราบ
๑๒. ให้นายอำเภอท้องที่ที่วัดนั้นตั้งอยู่ดำเนินการปักหมายเขตที่ดินตามที่ได้รับพระราชทาน